เมื่อประมาณสามถึงสี่เดือนสุดท้ายของปี 2007 ตลาดหุ้นทั่วโลกได้ร่วงกราวอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลกระทบจากวิกฤตซับไพร์มในสหรัฐอเมริกา ( ซัมไพร์มมาจากภาษาอังกฤษคำว่า Sub-Prime แปลว่าคุณภาพเป็นรองหรือด้อย เรามักจะเอาคำนี้ไปขยายความ โดยการต่อข้างหน้าในคำต่างเช่น สินเชื่อคุณภาพรอง ก็เรียกว่าSub-Prime Loan หากมีสินเชื่อคุณภาพรองที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน ก็เรียกว่า Sub-Prime Mortgage ) ปัญหาของสหรัฐอเมริกาเริ่มจากปัญหาการขาดสภาพคล่องของสถาบันการเงิน ที่เป็นผลมาจากการปล่อยสินเชื่อในภาพอสังหาริมทรัพย์ ในระยะแรกนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ประเมินกันว่าผลกระทบของวิกฤต Sub-Prime จะไม่รุนแรงมกนัก แต่หลังจากที่กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ต้องตัดสินใจประกาศเทคโอเวอร์ สถาบันสินเชื่อ แฟนนี เม และเฟรดดี เมค ที่มีตัวเลขผลขาดทุนมหาศาลหลังจากภาวะฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐฯแตกลง ทั้งสองสถาบันต้องถูกนำเข้าสู่กระบวนการพิทักษ์กิจการโดยรัฐบาลกลางเพื่อเสริมความแข็งแกร่งทางการเงินอย่างเร่งด่วน เพื่อพลิกฟื้นความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน
ความเสียหายครั้งใหญ่เกิดขึ้น เมื่อสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ คือ Lehman Brothers ประกาศล้มละลาย สถานการณ์ทำท่าจะกลายเป็นภาวะลูกโซ่ หลังจากนั้นตามมาด้วยสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่คือ สถาบัน Merrill Lynch ก็ถูกขายให้ธนาคารกลางของสหรัฐ ถัดมา American International Group หรือ AIA ทำท่าว่าจะล้มละลายถึงขั้นที่รัฐบาลบุชต้องเข้ามารีบอุ้ม โดยการปล่อยเงินกู้จำนวน 85,000 ล้านเหรียญ แต่ก็ดูจะไม่สามารถหยุดวิกฤตครั้งนี้ได้ เมื่อ Morgan Stanley และ Goldman Sachs สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่อีกสองแห่งก็ทำท่าว่าจะล้มตาม รัฐบาลบุชจึงต้องออกแผนอนุมัติเงินกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจเป็นจำนวนถึง 700,000 ล้านเหรียญ
ผลกระทบต่างๆจากวิกฤติครั้งนี้อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเด็นคือ
1. ผลกระทบทางเศรษฐกิจอธิบายตามแนวคิด Globalization
2. ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์โลก หรือระบบโลกอธิบายตาม Power transition theory และแนวคิดว่าด้วยอำนาจ
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ
วิกฤตการเงินสหรัฐฯ หรือที่เรียกกันว่า วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลก ดัชนีราคาหุ้นได้ตกต่ำลงอย่างมาก และมีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบเข้าสู่สถาบันการเงินต่างๆทั่วโลก ปรากฏการณ์ของการขยายตัวที่ลุกลามไปทั่วโลกสามารถอธิบายได้ตามแนวคิดโลกาภิวัตน์ หรือ Globalization ได้ดังนี้
แนวคิด Globalization นี้เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาหลังจากครึ่งหลังศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 201 ซึ่งในขณะนั้นแนวความคิดโลกาภิวัตน์มุ่งอยู่กับทางด้านการเงิน ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นสองมิติคือ อย่างแรก การเพิ่มจำนวนของการค้าระหว่างประเทศ สองคือการเพิ่มการหลั่งไหลของการอพยพผู้คน อย่างไรก็ตามนักวิชาการมากมายพยายามให้ความหมายของ Globalization หรือโลกาภิวัตน์ ไว้ต่างๆกัน เช่น เจมส์ รอสนาว (James N.Rosenau ) นักวิชาการอาวุธโสแขนงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้ให้ความหมายแก่โลกาภิวัตน์ว่า คือ “การที่คน กิจกรรม บรรทัดฐาน ความคิด สินค้า บริการ เงินตรา ฯลฯ ลดบทบาทที่เคยอยู่ภายใต้ความจำกัดของขอบเขตทางภูมิศาสตร์ หรือเคยมีวิธีปฏบัติดั้งเดิมที่แตกต่างกันให้มาอยู่ร่วมกันในขอบเขตระดับโลก และมีวิธีปฏิบัติอย่างเดียวกัน”
ซูซาน สเตรนจ์ (Susan Strange) นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองให้คำอธิบายโลกาภิวัตน์ว่า
1. คือการมีสินค้าในตลาดโลก ซึ่งร่วมกันผลิตโดยบุคคลจากหลายประเทศ
2. คือการเปลี่ยนโครงสร้างทางการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งเกิดจากการผลิตและการค้าสินค้า และบริการในระดับข้ามชาติในอัตราที่ขยายตัวกว่าเดิมมาก เพราะมีหลายชาติเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นผลให้เกิดทั้งกำไรและขาดทุนในวงเงินที่สูงมาก
3. โลกาภิวัตน์ คือการปรับเปลี่ยนความแตกต่างทางความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ รสนิยม ให้เข้ามารวมเป็นแบบเดียวกันในระดับโลก
นอกจากนี้ นักวิชาการไทย สมพงษ์ ชูมาก ได้กล่าวถึง โลกาภิวัตน์ ไว้ว่า คือระบบเศรษฐกิจ การค้า และการเงินระหว่างประเทศไร้พรมแดน สภาพเช่นนี้เริ่มมองเห็นได้ชัดในทศวรรษ1980 เพราะได้รับอิทธิพลมาจากการปฏิวัติทางคอมพิวเตอร์ และระบบอิเล็คทรอนิคส์ ซึ่งมีผลทำให้การติดต่อสื่อสารและการรับรู้ ข่าวสารระหว่างประเทศต่างๆ ในทั่วทุกภูมิภาคของโลกถึงกันอย่างรวดเร็ว การเคลื่อนไหวของเงินตราและทุนก็เป็นไปอย่างรวดเร็วทั่วโลก และในจำนวนมหาศาล โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประกอบกับทางด้านการผลิต และการค้าระหว่างประเทศเป็นไปตามหลักเศรษฐกิจเสรีที่ยอมรับกันทั่วโลก และดำเนินไปโดยไร้พรมแดน
ในเรื่องโลกาภิวัตน์ ยังมีรายละเอียดข้อถกเถียงกันอยู่อีกพอสมควรโดยข้อถกเถียงต่างๆเกิดจากจุดยืนความเชื่อที่แตกต่างกันในเรื่องโลกาภิวัตน์ โดยเราสามารถแบ่งจุดยืนของความเชื่อโลกาภิวัตน์ได้เป็น 3 จุดยืน
1. จุดยืนแรก คือจุดยืนของพวก Hyper globalist หรือ globalist หรือglobalizer หรืออาจเรียกพวกกลุ่มนี้ว่าพวกโลกานิยม พวกนี้เชื่อในโลกาภิวัตน์แบบสุดโต่ง โดยเห็นว่า โลกาภิวัตน์ เป็นพัฒนาการที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และไม่สามารถที่จะต้านทานและแทรกแซงได้จากนมนุษย์ โดยเฉพาะจากสถาบันทางการเมืองแบบเดิมเช่น รัฐชาติ นักคือในกลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 2 พวกคือ
– พวกโลกานิยมสายเสรีนิยมใหม่ พวกนี้มองในด้านบวกโดยเห็นว่าโลกาภิวัตน์เป็นสิ่งดี การแข่งขันในเศรษฐกิจโลกไม่จำเป็นต้องนำไปสู่การมีผู้แพ้หรือผู้ชนะ แต่ในสภาพรวมโดยเทียบเคียงแล้วทุกประเทศได้รับประโยชน์มากกว่า โลกาภิวัตน์นำมาสู่การกำเนินของอารยธรรมโลกอย่างแท้จริง
– พวกโลกานิยมสายมาร์กซิสใหม่ หรือ พวกโลกานิยมด้านลบ แต่โดยหลักยังเชื่อคล้ายพวกเสรีนิยมใหม่ว่าโลกาภิวัตน์เป็นเรื่องทางเศรษฐกิจในลักษณะการบูรณาการที่มีผลกระทบต่อรัฐชาติ แต่จะมองในแง่ร้ายว่าทำให้เกิดความไม่เสมอภาคระหว่างประเทศต่างๆ ผลประโยชน์ต่างๆจะถูกครอบงำโดยกลุ่มประเทศซีกโลกเหนือ
2. จุดยืนที่สอง ได้แก่พวก Skepitcs หรือ anti-globalizer หรืออาจเรียกได้ว่า พวกขี้สงสัย พวกนี้มีจุดยืนตรงข้ามกับพวกโลกานิยม เห็นว่าโลกาภิวัตน์เป็นเพียงแค่การสร้างอุดมการณ์เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่ระบบตลาดเสรีของโลกในลักษณะของเสรีนิยมใหม่ และจะมีผลทำหระบบทุนนิยมตะวันตกมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น เท่ากับว่าโลกาภิวัตน์ถูกเชื่อมโยงเข้ากับจักรวรรดินิยมซึ่งพวกนี้ก็สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
– พวกขี้สงสัยสายมาร์กซิสต์ ไม่เห็นด้วยกับโลกาภิวัตน์และเห็นว่าเป็นรูปแบบของจักรวรรดินิยมตะวันตก ซึ่งขยายตลาดตามตรรกะของทุนนิยมที่ต้องการขยายความสัมพันธ์ของทุนนิยมให้เข้าไปสู่ทุกจุดในภูมิศาสตร์
– พวก skeptics สายสัจนิยมแบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เชื่อว่า อย่างไรก็ตามเงื่อนไขทางด้านเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ทางสังคม จะขึ้นอยู่กับอภิมหาอำนาจ ดังนั้นกระบวนการนี้ก็จะไม่ได้คงอยู่เสมอไป เพราะจะมีการช่วงชิงระหว่างรัฐในการเป็นมหาอำนาจและมหาอำนาจจะมีการเปลี่ยนมืออยู่ตลอดเวลาดังนั้นบทบาทของรัฐชาติจะยังคงมีอยู่สูง และเราจะไม่ควรที่จะอ้างให้ความสำคัญแก่โลกาภิวัตน์มากเกินไป
3. จุดยืนที่สาม ได้แก่ พวก transformationalist หรือเรียกว่าพวกแปลงสัฯฐาน พวกนี้จะมีจุดยืนตรงกลางระหว่างพวกโลกานิยมและพวกขี้สงสัย พวกนี้เห็นว่าโลกาภิวัตน์ได้เกิดขึ้นจริง แต่ทิศทางการเปลี่ยนแปลงนั้นยังไม่แน่นอนว่าจะเป็นไปในทางใด พวกนี้เสนอแนวคิด “ระบอบอธิปไตยใหม่” ที่ละทิ้งอำนาจอธิปไตยของรัฐแบบเดิม มาสู่อำนาจอธิปไตยที่ผูกพันอยู่กับดินแดนของรัฐน้อยลงแต่ไปเชื่อมโยงกับเครือข่ายข้ามชาติอันซับซ้อน
อย่างไรก็ตามผู้เขียนเห็นว่าในปัจจุบันเราคงไม่อาจปฏิเสธโลกาภิวัตน์ได้ว่าเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในยุคปัจจุยันถึงแม้จะมีข้อถกเถียง จุดยืน และการให้ความหมายคำนิยามของคำว่าโลกาวัตน์แตกออกไปและใช้อธิบายในหลายสาขาก็ตาม เมื่อโลกทั้งโลกถูกเชื่อต่อกันตามแนวความคิดโลกาภิวัตน์จิงเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่การกระทของตัวแสดงหนึ่งในระบบระหว่างประเทศจะส่งผลถึงตัวแสดงอื่นๆในที่สุด (ไม่มากก็น้อย) เฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของสหรัฐอเมริกา ซึ่งในยุคหลังสงครามเย็นได้ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจหนึ่งเดียวอย่างเต็มตัว ด้วยอำนาจทางเศรษฐกิจ ทหาร และวัฒนธรรม บทบาทของสหรัฐอเมริกาหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตมักถูกเรียกขานจากประชาคมโลกว่าเป็น จักรวรรดินิยมใหม่ ควบคู่ไปกับกระแสการเกิดขึ้นของโลกาภิวัตน์ หรืออีกด้านหนึ่งคือสภาวะโลกาภิวัตน์เป็นตัวช่วยนำทุนนิยมเสรีของอเมริกาขยายไปทั่วทุกภูมิภาคของโลก จำนวนการกระจายการค้าและบริการนั้นสู่งอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนโดยเฉพาะในด้านของการไหลเวียนของเงินทุน และมีผลต่อการจัดการเศรษฐกิจในประเทศของแต่ละรัฐ
ปัญหาคือ การหมุนเวียนจำนวนเงินที่มหาศาลอย่างง่ายดายนี้สามารถไปสั่นคลอนฐานทางเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ และเมื่อการหมุนเวียนมีการแปรปรวนเกิดขึ้น ความแปรปรวนนี้จะเป้นภัยคุกคามที่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์การเงินขึ้น ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตการณ์การเงินในกลุ่มประเทศละตินอเมริกาในทศวรรษ 1980 , วิกฤตการณ์อัตราและเปลี่ยนค่าเงินในยุโรป ปี 1992 , วิกฤตการณ์เศรษฐกิจเอเชียตะวันออกในปี 1997 ซึ่งเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นชัดว่าโลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมในแต่ละประเทศอย่างไร และที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่วิกฤตการณ์ทางการเงินของสหรัฐอเมริกาที่กำลังจะตามมาในไม่ช้าหากแต่ละประเทศยังมีการเตรียมพร้อมรับมือที่ดีพอ
วิกฤตสภาบันการเงินของสหรัฐในปี 2008 นี้ได้ส่งผลให้ธนาคารและวานิชธนกิจหลายแห่งล้มละลายหรือถูกแปรสภาพโครงสร้างธุรกิจโดยมีรัฐบาลเข้าไปถือหุ้นมากขึ้น ได้ขยายผลกระทบจากภาคการเงินสู่ระบบเศรษฐกิจโดยรวมอย่างแยกไม่ออกและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แล้ว ไม่เพียงภาวะการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงแต่ภาวะสินเชื่อตึงตัวและตลาดหุ้นที่ดำดิ่งตามข่าวร้ายทางเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำเนินงานของภาคธุรกิจ ทำให้มีการลดกำลังการผลิต และลอยแพคนงานจำนวนมากทั้งในภาคการเงินและอุตสาหกรรมการผลิต เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐถดถอยจะส่งผลให้เศรษฐกิจการค้าโลกถดถอยไปด้วย โดยเฉพาะการถดถอยของการบริโภคในสหรัฐ จะส่งกระทบต่อการส่งออกสินค้าไปสหรัฐ และการลงทุนของสหรัฐในประเทศต่างๆอีกด้วย
ผลกระทบของเศรษฐกิจในวงกว้างเห็นได้ชัดว่า ในช่วงปลายเดือนกันยายนของทุกปี จะมีการประชุมใหญ่ของสหประชาชาติ สำหรับการประชุมครั้งนี้เรื่องที่สำคัญที่สุดคือวิกฤตการเงินของสหรัฐที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก โดยสุนทรพจน์ของผู้นำประเทศต่างๆออกมาในแนวทางเดียวกันคือวิพากษ์นโยบายของรัฐบาลบุช และกังต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ประธานาธิบดี Niccolo Sarkozy ของฝรั่งเศสได้เสนอที่จะพัฒนาระบบการควบคุมตลาดการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งผู้นำหลายประเทศก็ออกมาสนับสนุน สำหรับเลขาธิการสหประชาชาติ Ban ki Moon ก็ได้กล่าวว่าวิกฤตครั้งนี้กระทบต่องานของ UN เป็นอย่างมากโดยเฉพาะแผนให้ความช่วยเหลือประเทศยากจนและยังกล่าวโจมตีแนวนโยบายที่สหรัฐสนับสนุนมาโดยตลอด คือ หลักการกลไกตลาดเสรี5 ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนรวมถึงผู้เขียนมองว่า ทางออกคือการเน้นนโยบายเข้าควบคุมสถาบันการเงินและการปฏิรูประบบการเงิน หลักการฉันทามติวอชิงตันที่เน้นกลไกการเปิดตลาดเสรีกำลังถูกสั่นคลอน แนวโน้มต่อไปคือการเข้ามามีบทบาทของรัฐในระบบเศรษฐกิจและปัญหาในระยะยาวคืออาจนำไปสู่กระแสกีดกันทางการค้าขึ้นมาอีกได้
ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.chuaichart.com/about/mission/reason/
สินเชื่อถ้าปล่อยกระหน่ำมากไป วันหน้าจะเเย่เอา บ้านเราก็ชักจะเเย่เหมือนกัน มีแต่คนเป็นหนี้เป็นสิน
ตอบลบ